วัฒนธรรมการทำงานหนักมากเกินไปของญี่ปุ่นในที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?

วัฒนธรรมการทำงานหนักมากเกินไปของญี่ปุ่นในที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่?

ความตายจากการทำงานมากเกินไปในญี่ปุ่นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว จนถึงกระทั่งมีคำว่า “karoshi”
ขณะนี้รัฐบาลและกลุ่มธุรกิจต่างพยายามที่จะให้คนงานก้าวไปข้างหน้าเพื่อเรียกคืนชีวิตของพวกเขา โดยเลิกงานเร็วขึ้นหนึ่งวันต่อเดือน
โครงการนี้มีชื่อว่า “Premium Friday” ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่า บริษัทต่างๆ จะให้พนักงานเลิกงานเวลา 15:00 น. ในวันศุกร์สุดท้ายของเดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
โดยได้รับแรงผลักดันใหม่โดยการฆ่าตัวตายของหญิงที่ทำงานล่วงเวลามากกว่า 100 ชั่วโมงตลอดเดือนที่บริษัทโฆษณารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น คือ Dentsu
การตายของเธอถูกตัดสินว่าเป็นกรณีของ “karoshi” และได้นำไปสู่การสืบสวน โดยหัวหน้าผู้บริหารของบริษัทประกาศจะลาออกและเป็นกังวลอย่างมากในวัฒนธรรมการทำงานของประเทศญี่ปุ่น
คุณสามารถทำงานจนทำให้ตัวเองตายได้หรือไม่?
หัวหน้าผู้บริหาร Dentsu ลาออกหลังจากการทำงานล่วงเวลาของพนักงานจนฆ่าตัวตาย
แต่มีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 รายต่อปี ซึ่งเชื่อมโยงกับการทำงานมากเกิน มีคนส่วนน้อยเชื่อว่าข่าวนี้คงไม่ได้ส่งผลอะไรที่มากกว่าขั้นตอนเล็ก ๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และยังไม่ชัดเจนว่าจะมีกี่บริษัทที่เข้าร่วม

ไม่ใช่ครั้งแรกที่การทำงานหนักเกินไปได้รับการมองว่าเป็นปัญหา หรือเป็นครั้งแรกที่ทุกคนได้พยายามที่จะทำอะไรบางอย่างกับมัน
รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามที่จะทำให้พนักงานใช้เวลาในการลางานมากขึ้น – กระทรวงแรงงานของญี่ปุ่นกล่าวว่า พวกเขาใช้เวลาเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
จำนวนวันหยุดราชการในญี่ปุ่นในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 16 วันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับให้ผู้คนหยุดพักบ้าง
รัฐบาลยังได้พยายามสนับสนุนชั่วโมงที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อให้พนักงานของรัฐบาลสามารถเริ่มต้นและเลิกงานได้ในช่วงต้นฤดูร้อนและแม้กระทั่งปิดไฟในบางออฟฟิศในช่วงค่ำ Dentsu ก็พยายามด้วยเช่นกัน
คนงานมากขึ้นเริ่มมีความคิดในการกลับบ้านตรงเวลาในบางวัน แม้กระทั่งการประกาศในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อกระตุ้นให้คนอื่นๆ กล้าทำเช่นเดียวกัน
แต่ในขณะที่สิ่งนี้ช่วยเปลี่ยนความคิดที่ว่าการทำงานล่วงเวลามากเกินไม่เป็นสิ่งที่จำเป็น
ประมาณ 22% ของประชากรที่ทำงานมากกว่า 49 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามตัวเลขในปี 2014 จากสถาบันนโยบายและการฝึกอบรมแรงงานญี่ปุ่น ตามหลังเกาหลีใต้ที่ 35% แต่นำหน้าที่สหรัฐฯที่ 16%
ทำไมต้องเปลี่ยน?
สำหรับรัฐบาลและกลุ่มธุรกิจ ก็มีองค์ประกอบเรื่องกำไรด้วยเช่นเดียวกัน
เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวมานานกว่าสองทศวรรษ สถานการณ์ได้รับผลกระทบจากการใช้จ่ายที่ต่ำ และอัตราการเกิดที่ต่ำมาก ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ได้รับความสนใจจากคนงานส่วนใหญ่ใช้เวลาบนโต๊ะทำงาน
การผลิตและประสิทธิภาพยังไมด้รับผลกระทบจากบริษัทที่มีพนักงาน เนื่องจากบริษัทไม่ลงทุนการใช้เทคโนโลยีแทนคนงาน
Toshihiro Nagahama หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Dai-ichi Life Research Institute กล่าวกับบีบีซีว่า การบริโภคภาคเอกชนสามารถเพิ่มขึ้นสูงได้ถึง 124 พันล้านเยน ถ้าทุกแห่งใช้นโยบาย Premium Friday ให้เลิกงานที่ 3โมงเย็นในวันนั้น
แต่เขากล่าวว่า ไม่มีใครรู้ว่าจะมีกี่คนที่จะยอมรับไอเดียนี้ และไม่น่าจะได้รับความร่วมมือจากทั้งหมด ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดย่อมขึ้นมาได้
ทำไมบริษัทและคนงานถึงไม่เข้าร่วม? ในครั้งแรกที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจทำให้ได้รับผลกระทบ
บริษัทต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น และคนงานชาวญี่ปุ่นมักรู้สึกผิดที่ละทิ้งเพื่อนร่วมงานของตนไว้เบื้องหลัง
“คนงานชาวญี่ปุ่นกังวลเรื่องการทิ้งเพื่อนร่วมงาน” นายนากาฮามะกล่าว “พวกเขามีความรู้สึกอย่างแรงกล้าในการทำงานเป็นทีม”
การมีลูกจ้างทำงานน้อยลง เป็นเรื่องยากสำหรับธุรกิจขนาดเล็กของญี่ปุ่นซึ่งกำลังต่อสู้เพื่อลดต้นทุน ในความจริงที่ว่าหลายธุรกิจมักดำเนินการในครอบครัวทำให้การเลิกงานเร็วยิ่งยากขึ้นไปอีก
แม้กระทั่งกับ Premium Friday นายนากาฮามะชี้ให้เห็นว่าพนักงานบางคนอาจทำงานล่วงเวลาในวันอื่นๆ หรือแม้กระทั่งทำงานอื่นๆ ในช่วงเวลาว่าง เพื่อให้ได้ชั่วโมงทำงาน ซึ่งไม่ได้มีประโยชน์ใดๆกับโครงการนี้เลย
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ารัฐบาลนี้อยู่เบื้องหลังแนวคิดนี้จะมีส่วนร่วมหรือไม่ แม้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม Hiroshige Seko ได้ให้สัญญาว่าจะไม่นัดหมายหลังเวลา 15:00 น. ในวันศุกร์นี้
แม้จะสงสัยเกี่ยวกับโครงการนี้ ผู้สนับสนุนหวังว่าเป้าหมายที่น้อยนิดของการของการเลิกงานเร็วเดือนละครั้ง รวมกับการสนับสนุนของรัฐบาลและอุตสาหกรรม จะส่งเสริมให้เกิดการยอมรับ และมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในสถานที่ทำงาน
แคมเปญนี้ยังส่งเสริมโอกาสทางการค้าสำหรับร้านอาหาร ร้านค้า บริษัทท่องเที่ยว และธุรกิจอื่น ๆ ที่อาจได้รับประโยชน์ด้วยความหวังว่าบริษัทเล็งเห็นถึงประโยชน์จากเวลาพักผ่อนที่เพิ่มขึ้นสำหรับพนักงาน
แน่นอนว่าการเปลี่ยนทัศนคติที่ลึกซึ้งในการทำงานอาจจะเป็นเรื่องยาก ความพยายามหลายครั้งก่อนหน้านี้ต่างล้มเหลว แต่ความพยายามอย่างมากนี้อาจได้รับความช่วยเหลือพนักงงานญี่ปุ่นที่ลดความภักดีลงบ้าง
คนหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นที่อายุน้อยกว่าอาจพบว่าโอกาสที่จะมุ่งหน้าไปที่ izakaya (ผับ) เร็วขึ้นบ้างในวันศุกร์ เป็นเพียงการสนับสนุนที่พวกเขาสมดุลชีวิตและการทำงานให้ดีขึ้น

Comments are closed.