Browsed by
Category: บริษัท ญี่ปุ่น

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นกุญแจหลักในการประสบความสำเร็จของบริษัทต่างชาติในประเทศญี่ปุ่น

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นกุญแจหลักในการประสบความสำเร็จของบริษัทต่างชาติในประเทศญี่ปุ่น

การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรม มักเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับชาวต่างชาติที่เข้าอาศัยในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็จะเกิดปัญหานี้เช่นเดียวกันกับบริษัทต่างชาติ บางร้านค้าปลีกระดับโลกได้เข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นและเป็นที่รู้จักในฐานะแบรนด์อันเป็นที่รักโดยการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น ในขณะที่คนอื่นพยายามที่จะเอาชนะจิตใจและความคิดของเหล่าบรรดาลูกค้าที่ฉลาด “แบรนด์ต่างประเทศหลายแบรนด์ระดับโลกในหลายๆภาคส่วนได้เข้ามาสู่ตลาดญี่ปุ่น และในขณะที่การแข่งขันมากขึ้น ความคาดหวังของลูกค้าและความต้องการใช้บริการที่ดีก็มีมากขึ้นเช่นกัน” นายเคนจิ คานิยา ผู้อำนวยการแผนกประชาสัมพันธ์ของแมคโดนัลด์ประเทศญี่ปุ่นกล่าว McDonald’s ได้ลิ้มรสทั้งความสำเร็จอันหอมหวานและขื่มขมจากการพ่ายแพ้ในญี่ปุ่น กลุ่มแฮมเบอร์เกอร์ในประเทศญี่ปุ่นได้เปิดร้านแรกในย่าน Ginza สุดหรู ในกรุงโตเกียว ในเดือนกรกฎาคมปี 1971 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา McDonald’s ได้กลายเป็นบริษัทที่ขายเบอร์เกอร์ได้มากที่สุดในประเทศด้วยการมีร้านค้าเกือบ 2,900 สาขา ณ เดือนสิงหาคม แต่ในระหว่าง 46 ปีแห่งประวัติศาสตร์ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทก็ได้ออกมาแบ่งปันเรื่องราวปัญหาที่ได้พบ ในปี 2014 McDonald ได้กลายเป็นประเด็นหัวข้อข่าวหลังจากผู้จัดจำหน่ายในประเทศจีนได้ทำการส่งมอบเนื้อสัตว์ที่หมดอายุแล้วสำหรับผลิตภัณฑ์ไก่นักเก็ต และในปี 2015 บริษัทก็ได้ขายอาหารที่มีการรายงานว่าผลสิ่งแปลกปลอม เช่น ฟันของมนุษย์ในเฟรนชฟรายด์ ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาหารนี้ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัท McDonald ในสายตาของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นอย่างมาก ผลที่ตามมา คือ ผลประกอบการขาดทุน 34.95 พันล้านเยน ในปี 2015 ซึ่งนับเป็นการขาดทุนมากที่สุดนับตั้งแต่บริษัท McDonald’s Holdings Co. (ญี่ปุ่น) เข้ามาก่อตั้งในประเทศญี่ปุ่น คานิยายอมรับว่าการตอบสนองของบริษัทในช่วงเวลาวิกฤตินั้น “ไม่จริงใจอย่างเพียงพอ” ในการทำให้ลูกค้าเกิดความอุ่นใจ “เป็นเรื่องน่าเสียใจที่เราไม่ฟังเสียงของลูกค้าให้ดีมากขึ้น” เขากล่าว ณ สำนักงานใหญ่ McDonald ญี่ปุ่น “ผมคิดว่าในตอนนั้นเรายังหยิ่งผยองเกินไป” หลังข่าวอื้อฉาว McDonald ญี่ปุ่น ได้สร้างแผนฟื้นฟูและพยายามที่จะสร้างระบบเพื่อตอบสนองต่อลูกค้าให้ดีมากยิ่งขึ้น ความพยายามนี้รวมถึงแอพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนของบริษัท “Kodo” ซึ่งลูกค้าสามารถที่จะโพสต์ข้อเสนอแนะทั้งทางด้านบวกและด้านลบและรับคูปองส่วนลดสำหรับการแนะนำในครั้งนั้น หลังจากบริษัทฟื้นตัวกลับมาหลังปี 2016 โดยมีรายได้สุทธิจำนวน 5.37 พันล้านเยน และคาดว่ากำไรจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นประวัติการณ์ถึง 20 พันล้านเยน…

Read More Read More